วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด

น.ส สุธีรัตน์  ยงยิ่ง 5711165136สาธารณสุขชุมชน ห้อง 1


การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing)
  เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
  การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะเตรียมการประมวลผลในขั้นต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/output ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ CPU เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key to Tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก (Key to Disk) บัตรเจาะรู (Punched Card) เป็นอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีลักษณะการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลพร้อมกัน การประมวลผลจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น การทำบัญชีเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือนระบบคิดดอกเบี้ยสะสม 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ของธนาคาร การบันทึกเกรดของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน จนถึงภาคเรียนสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรดเฉลี่ย ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในช่วงรอบบัญชี (1 เดือน)  จะถูกเก็บสะสมจนสิ้นสุดรอบบัญชี การประมวลผลแบบนี้จะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบออฟไลน์ (Off-line System) มีข้อดี คือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์แต่ก็มีข้อเสีย คือ ข้อมูลจะไม่ทันสมัย
   การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing) เป็นวิธีที่ผู้ใช้สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคน (Multi-user) จะประมวลผลทันทีเมื่อรับข้อมูลเข้ามา โดยไม่ต้องรอรวมข้อมูลหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานที่อื่นมีความสามารถในการทำงานบางอย่างได้ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นต้น ข้อดี คือ ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ข้อเสียคือ หากมีข้อมูลมาก การประมวลผลช้าลง เนื่องจากมีเพียงเครื่องแม่ข่ายเท่านั้นที่ทำการประมวลผล
      การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่ จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่างๆ ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์


วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดที่ 3ซอฟต์แวร์

น.ส. สุธีรัตนื  ยงยิ่ง 571165136
สาธารณสุขชุมชน 1


1.ซอฟต์แวร์คืออะไร
ตอบ    ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
        โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
2.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ    คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
3.ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ    1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น
4.จงบอกหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ 3 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
         1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User  Interface)
             คือ  ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ  โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ   เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
          2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
             เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้อง
          3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ  ในระบบ
              ทรัพยากร  (Resource)  คือ  สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้  เช่น  หน่วยประมวลผล  (CPU)  หน่วยความจำ  (Memory)  อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล  (Input/Output)
5.ระบบปฏิบัติการเครือข่ายคืออะไร
ตอบ      ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย



6.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ      ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
7.ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ      ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
8.ภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีภาษาอะไรบ้าง
ตอบ  2ภาษา ได้แก่ ภาษาเครื่อง ภาษามนุษย์
9.ภาษาชั้นสูงคืออะไร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
10. จงบอกวิธีเลือกซื้อซอฟต์แวร์
ตอบ  ข้อ 1 มีซอฟต์แวร์ทดลองใช้งานหรือไม่
ค่อน ข้างถือเป็นอันดับแรกในการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานกับธุรกิจของคุณ เนื่องจากการได้ทดลองใช้งานถือเป็นทางเลือกในการทดสอบและทดลองซอฟต์แวร์ว่า เหมาะกับธุรกิจหรือไม่ อีกประการคือถือเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตด้วยว่าใช้งานได้จริงตาม ที่โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้าหากดีจริงก็ค่อยซื้อมาใช้งาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อโปรแกรมทันทีหลังจากที่ดูจากการสาธิตเพราะการสาธิต นั้นจะยกเอาเฉพาะข้อดีของโปรแกรมมาให้ และค่อนข้างเป็นการทำงานที่หลอกตาเนื่องจากยังไม่มีการป้อนข้อมูลจริงลงไป บางบริษัทอาจบอกว่าไม่มีนโยบายเพราะกลัวลูกค้าใช้งานไม่เป็นก็ให้บอกปัดไป ได้เลย แหม ถ้าเราเอามาลองใช้เองไม่เป็นแล้วจะเอามาให้ทำไม อย่างน้อยที่สุดในแต่ละโปรแกรมจะต้องมีรายการช่วยเหลืออธิบายถึงวิธีการใช้ งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และถ้าหากซอฟต์แวร์ของบริษัทใดที่ไม่มีให้ทดลองใช้งานก็อาจต้องระแวงไว้ก่อน ว่า ซอฟต์แวร์นั้นค่อนข้างมีปัญหาในบางจุดหรือที่เรียกว่า Bug นั่นเอง

ข้อ 2 พิจารณาถึงประวัติของบริษัทในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับ การพิจารณาในจุดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการการันตีว่า เมื่อเราซื้อสินค้าของบริษัทนี้แล้วจะได้รับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความ สามารถใหม่ ๆ ทันยุคของโลกปัจจุบันเสมอ เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ไม่ถึง 5 ปีก็จะต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ แต่หากขาดบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว เราก็จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาใช้งานอีก
ข้อ 3 พิจารณาถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานร่วม
โดย ส่วนใหญ่เรามักทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Windows หากซอฟต์แวร์ตัวใดที่มีการทำงานบนระบบดอส ซึ่งถือว่าล้าหลังมากก็ไม่ควรที่จะซื้อหามาใช้งานเพราะไม่รองรับกับ เทคโนโลยีที่จะมีมาในอนาคตนั่นเอง โดยเล่ห์เหลี่ยมของผู้ขายซอฟต์แวร์มักจะบอกว่าใช้ได้ทั้งดอสและ Windows แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้งานจริงใช้ได้เฉพาะระบบดอสข้อนี้จึงควรระวังก่อนการ เลือกใช้

ข้อ 4 พิจารณาถึงบริการหลังการขาย
การ พิจารณาบริการหลังการขาย ถือเป็นจุดสำคัญในการเลือกซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานบางอย่างของระบบอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใช้งานนานวันเข้า สำหรับการทดสอบในจุดนี้ก็ทำได้ไม่ยาก ก่อนอื่นควรที่จะดูบริการก่อนการซื้อก่อนว่ามีการให้คำปรึกษาเป็นอย่างไร โทรเข้าไปสอบถาม หรือเข้าไปที่บริษัทแล้วได้รับการต้อนรับอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงของการทดลองใช้โปรแกรมหากขอรับความรู้หรือขอทราบการแก้ไข ปัญหาแล้วได้รับการแก้ไขหรือตอบรับที่ดีก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชี้วัดต่อ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทนั้น ๆ

ข้อ 5 คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย

โดย ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาในปัจจุบันจะเขียนในลักษณะที่ค่อนข้างครอบ คลุมหลายธุรกิจให้สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานในแต่ละส่วนแต่ละ กิจการ เราจึงควรศึกษาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าในหน่วยงานมีการใช้งานหรือไม่ ส่วนใดที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้หรือไม่ได้จะได้เป็นการลดส่วนที่ไม่จำ เป็นออกไปและค่อนข้างประหยัดงบประมาณลงไปอีก นอกจากนี้การพิจารณาเลือกหน้าจอของซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้อง พิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากหน้าจอที่มีสีสันฉูดฉาดบาดตา อาจดูสวยงามในช่วงแรก แต่เมื่อมีการใช้งานนานไป ก็อาจทำให้เกิดความลำบากต่อการมองหรือทำงานได้