วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด

น.ส สุธีรัตน์  ยงยิ่ง 5711165136สาธารณสุขชุมชน ห้อง 1


การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing)
  เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
  การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะเตรียมการประมวลผลในขั้นต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/output ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ CPU เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key to Tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก (Key to Disk) บัตรเจาะรู (Punched Card) เป็นอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีลักษณะการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลพร้อมกัน การประมวลผลจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น การทำบัญชีเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือนระบบคิดดอกเบี้ยสะสม 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ของธนาคาร การบันทึกเกรดของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน จนถึงภาคเรียนสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรดเฉลี่ย ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในช่วงรอบบัญชี (1 เดือน)  จะถูกเก็บสะสมจนสิ้นสุดรอบบัญชี การประมวลผลแบบนี้จะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบออฟไลน์ (Off-line System) มีข้อดี คือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์แต่ก็มีข้อเสีย คือ ข้อมูลจะไม่ทันสมัย
   การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing) เป็นวิธีที่ผู้ใช้สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคน (Multi-user) จะประมวลผลทันทีเมื่อรับข้อมูลเข้ามา โดยไม่ต้องรอรวมข้อมูลหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานที่อื่นมีความสามารถในการทำงานบางอย่างได้ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นต้น ข้อดี คือ ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ข้อเสียคือ หากมีข้อมูลมาก การประมวลผลช้าลง เนื่องจากมีเพียงเครื่องแม่ข่ายเท่านั้นที่ทำการประมวลผล
      การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่ จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่างๆ ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์


วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดที่ 3ซอฟต์แวร์

น.ส. สุธีรัตนื  ยงยิ่ง 571165136
สาธารณสุขชุมชน 1


1.ซอฟต์แวร์คืออะไร
ตอบ    ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
        โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
2.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ    คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
3.ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ    1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น
4.จงบอกหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ 3 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
         1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User  Interface)
             คือ  ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ  โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ   เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
          2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
             เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้อง
          3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ  ในระบบ
              ทรัพยากร  (Resource)  คือ  สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้  เช่น  หน่วยประมวลผล  (CPU)  หน่วยความจำ  (Memory)  อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล  (Input/Output)
5.ระบบปฏิบัติการเครือข่ายคืออะไร
ตอบ      ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย



6.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ      ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
7.ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ      ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์
8.ภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีภาษาอะไรบ้าง
ตอบ  2ภาษา ได้แก่ ภาษาเครื่อง ภาษามนุษย์
9.ภาษาชั้นสูงคืออะไร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
10. จงบอกวิธีเลือกซื้อซอฟต์แวร์
ตอบ  ข้อ 1 มีซอฟต์แวร์ทดลองใช้งานหรือไม่
ค่อน ข้างถือเป็นอันดับแรกในการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานกับธุรกิจของคุณ เนื่องจากการได้ทดลองใช้งานถือเป็นทางเลือกในการทดสอบและทดลองซอฟต์แวร์ว่า เหมาะกับธุรกิจหรือไม่ อีกประการคือถือเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตด้วยว่าใช้งานได้จริงตาม ที่โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้าหากดีจริงก็ค่อยซื้อมาใช้งาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อโปรแกรมทันทีหลังจากที่ดูจากการสาธิตเพราะการสาธิต นั้นจะยกเอาเฉพาะข้อดีของโปรแกรมมาให้ และค่อนข้างเป็นการทำงานที่หลอกตาเนื่องจากยังไม่มีการป้อนข้อมูลจริงลงไป บางบริษัทอาจบอกว่าไม่มีนโยบายเพราะกลัวลูกค้าใช้งานไม่เป็นก็ให้บอกปัดไป ได้เลย แหม ถ้าเราเอามาลองใช้เองไม่เป็นแล้วจะเอามาให้ทำไม อย่างน้อยที่สุดในแต่ละโปรแกรมจะต้องมีรายการช่วยเหลืออธิบายถึงวิธีการใช้ งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และถ้าหากซอฟต์แวร์ของบริษัทใดที่ไม่มีให้ทดลองใช้งานก็อาจต้องระแวงไว้ก่อน ว่า ซอฟต์แวร์นั้นค่อนข้างมีปัญหาในบางจุดหรือที่เรียกว่า Bug นั่นเอง

ข้อ 2 พิจารณาถึงประวัติของบริษัทในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับ การพิจารณาในจุดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการการันตีว่า เมื่อเราซื้อสินค้าของบริษัทนี้แล้วจะได้รับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความ สามารถใหม่ ๆ ทันยุคของโลกปัจจุบันเสมอ เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ไม่ถึง 5 ปีก็จะต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ แต่หากขาดบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว เราก็จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาใช้งานอีก
ข้อ 3 พิจารณาถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานร่วม
โดย ส่วนใหญ่เรามักทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Windows หากซอฟต์แวร์ตัวใดที่มีการทำงานบนระบบดอส ซึ่งถือว่าล้าหลังมากก็ไม่ควรที่จะซื้อหามาใช้งานเพราะไม่รองรับกับ เทคโนโลยีที่จะมีมาในอนาคตนั่นเอง โดยเล่ห์เหลี่ยมของผู้ขายซอฟต์แวร์มักจะบอกว่าใช้ได้ทั้งดอสและ Windows แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้งานจริงใช้ได้เฉพาะระบบดอสข้อนี้จึงควรระวังก่อนการ เลือกใช้

ข้อ 4 พิจารณาถึงบริการหลังการขาย
การ พิจารณาบริการหลังการขาย ถือเป็นจุดสำคัญในการเลือกซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานบางอย่างของระบบอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใช้งานนานวันเข้า สำหรับการทดสอบในจุดนี้ก็ทำได้ไม่ยาก ก่อนอื่นควรที่จะดูบริการก่อนการซื้อก่อนว่ามีการให้คำปรึกษาเป็นอย่างไร โทรเข้าไปสอบถาม หรือเข้าไปที่บริษัทแล้วได้รับการต้อนรับอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงของการทดลองใช้โปรแกรมหากขอรับความรู้หรือขอทราบการแก้ไข ปัญหาแล้วได้รับการแก้ไขหรือตอบรับที่ดีก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชี้วัดต่อ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทนั้น ๆ

ข้อ 5 คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย

โดย ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาในปัจจุบันจะเขียนในลักษณะที่ค่อนข้างครอบ คลุมหลายธุรกิจให้สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานในแต่ละส่วนแต่ละ กิจการ เราจึงควรศึกษาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าในหน่วยงานมีการใช้งานหรือไม่ ส่วนใดที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้หรือไม่ได้จะได้เป็นการลดส่วนที่ไม่จำ เป็นออกไปและค่อนข้างประหยัดงบประมาณลงไปอีก นอกจากนี้การพิจารณาเลือกหน้าจอของซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้อง พิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากหน้าจอที่มีสีสันฉูดฉาดบาดตา อาจดูสวยงามในช่วงแรก แต่เมื่อมีการใช้งานนานไป ก็อาจทำให้เกิดความลำบากต่อการมองหรือทำงานได้

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

น.ส. สุธีรัตน์  ยงยิ่ง 5711165136
สาขา สธารณสุขชุมชน ห้อง 1

หากนักศึกษาต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับงานที่ตนเองใช้ให้นักศึกษาแต่ละคนไปหา Spec ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) หรือ Notebook 1 เครื่อง บอกคุณสมบัติของ Spec เหล่านั้น

1.CPU Core-i3 เหมาะสำหรับคนทำงานเอกสารทั่วไป ดูหนังฟังเพลง เล่นเน็ตได้ชิวๆเลย ( เล่นเกมส์ พอได้นะ เช่นบวก Data ) Core-i5 เหมาะสำหรับคนเล่นเกมส์ แปลงไฟล์เรนเดอร์งานสามมิติ เขียนโปรแกรม Core-i7 คอร์เกมตัวยง นักวิศวะกรรม ออกแบบทำงานสามมิติ Atom จะเป็น cpu สำหรับ netbook นะครับ กินไฟฟ้าน้อย ประหยัดพลังงาน เหมาะกับงานออฟฟิตทั่วไป โดย ตระกูล Core-i จะแบ่งย่อยอีกเป็น 2 พวก คือ พวกประหยัดพลังงาน และ ปกติ รุ่นประหยัดพลังงาน เช่น Intel Core i5-3317U ( จะลงท้ายด้วย U ) รุ่นปกติ เช่น Intel Core i5-3210M
 2.Hard disk ถ้าคนปกติจริงๆ 500 GB ก็เหลือแล้ว ยกเว้นบางพวกโหลดหนังมาดูเก็บเพลงเยอะๆ อันนี้เป็น 1000 GB ก็ยังไม่พอ สำหรับความเร็วในการอ่าน จะเห็นตัวเลข 5400 rpm กับ 7200 rpm 7200 rpm จะอ่านได้เร็วกว่านิดหนึ่ง แต่ข้อเสียของมันก็มีอยู่บ้างคือ ความร้อนสูง ตามเว็บไซต์เมืองนอกเขาว่ากันว่าทางทฤษฎีเร็วกว่ากัน 8 % Hardisk อีกประเภทคือ SSD = Solid State Drive จะอ่านได้เร็วกว่า เสียงเบากว่า กินฟ้าน้อยกว่า ไวต่อการบูตเครื่อง ทนต่อแรงกระแทก และสุดท้าย แพงกว่าเยอะ นิยมใช้ใน Ultrabook และข้อเสียอีกข้อ ยังเก็บข้อมูลได้น้อย ใครงบเยอะก็จัดไปเลย + ถ้าจะซื้อ SSD มาติดใน nobebook ส่วนใหญ่เค้าจะถอด DVD ออก โดยอาจจะใช้ SSD แค่ 128 GB ก็เพียงพอ โดยราคาประมาน 3000 บาท

3.RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เป็นหน่วยความจำ ถ้า window 7 ขึ้นไป ควรใช้ 4 GB ถ้าใครเล่นเกมส์หนักๆ ทำงานออกแบบ ตัดต่อ อาจจะเพิ่มเป็น 8+ ก็ได้ ถ้าเกิดหน่วยความจำไม่พอเครื่องจะค้างและช้า notebook สมัยนี้ส่วนใหญ่จะให้มา 4 GB อยู่แล้วก็เพียงพอกับการใช้งานทั่วไป  

4.CD-ROM Drive CD-ROM Drive คือเครื่องขับแผ่น CD ที่ติดตั้งอยู่หน้า Case การใช้งานต้องวางแผ่นลงบนถาดที่เลื่อนออกมาจาก CD-ROM Drive จากนั้นเพียงกดปุ่ม ถาดก็จะ เคลื่อนกลับเข้าไป พร้อมที่จะเล่นแผ่นได้ CD-ROM Drive สามารถเล่นแผ่นได้ต่อไปนี้ แผ่น CD-ROM ซึ่งปัจจุบัน แผ่น CD-ROM จำแนกเป็น 2 ประเภท แผ่น CD-ROM ที่บรรจุโปรแกรมประเภทสารานุกรม หรือ บทเรียนสำหรับการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ในการเล่นครั้งแรก ผู้ใช้อาจจำเป็นติดตั้งโปรแกรมก่อน แต่ในการเล่นโปรแกรมครั้งต่อไปผู้ใช้เพียงใส่ CD-ROM เข้าไปใน Drive และเพียง Start Programme จาก Desktop เท่านั้น แผ่น CD-ROM ที่บรรจุซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งซอฟต์แวร์ เกือบทั้งหมดจะใช้สื่อ CD-ROM แทนที่จะใช้ Floppy Disk(S) ดังเช่นในอดีต แผ่น Audio-CD หรือ แผ่น CD เพลง ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป แต่ละเพลงบรรจุด้วย File ที่มีส่วนขยาย WAV โดยปกติแผ่นประเภทนี้ควรเล่นกับเครื่องเล่น CD ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเครื่องเสียง การจะเล่นกับ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card และลำโพง แผ่น Video-CD ได้แก่แผ่นที่สามารถ เล่นภาพยนต์เรื่องยาว Concert หรือ Karaoke โดยปกติแผ่นประเภทนี้ ควรเล่นกับเครื่องเล่น Video-CD ซึ่งจะส่งสัญญาณภาพเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป แต่หากจะเล่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะต้องมี Sound Card ลำโพง และซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านแผ่น Video-CD ได้ อนึ่ง Windows Media Player ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows ก็สามารถอ่าน File ในแผ่น Video_CD ได้ แต่การเล่นจะไม่ค่อยสะดวกนัก แผ่น MP3 ที่บรรจุเพลง MP3 ซึ่งมีการผลิตใช้กันในหมู่ญาติมิตร หรือเผยแพร่กันอย่าง "ไม่เป็นทางการ" นั้น เป็นการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลเสียง MP3 File จึงมีขนาดเล็กกว่า WAV File ประมาณ 12 ถึง 14 เท่า การบีบอัดใช้หลักการตัดเสียงที่อยู่นอกพิสัยการได้ยินของมนุษย์ และเสียงที่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของเพลงถูกกลบด้วยเสียงอื่น การที่ File มีขนาดเล็กลงมากเช่นนี้ ทำให้สามารถบรรจุเพลงได้มากถึง 150 เพลงหรือมากกว่าในแผ่น CD เพียงแผ่นเดียว แรกทีเดียวเพลงประเภทนี้สามารถฟังได้จากเรื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น โดยใช้ซอฟต์แวร์เช่น Winamp แต่ปัจจุบันเครื่องเล่นแผ่น Video-CD หรือแม้แต่เครื่องเสียงในรถยนต์บางรุ่น ได้รวมความสามารถในการเล่น File MP3 ไว้ในตัวด้วย คุณสมบัติของ CD-ROM Drive ที่ต้องพิจารณาคือความเร็ว เมื่อ CD-ROM Drive ออกใหม่เคยมีความเร็ว Double-Speed หรือ 2x ต่อจากนั้นความเร็วก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบัน CD-ROM Drive ที่มีจำหน่ายทั่วไปมีความสูงสุดที่ 60x การพิจารณาความเร็วของ CD-ROM Drive นั้น ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ ความเร็วที่ระบุนั้นเป็นความเร็วสูงสุด ภายใต้สถาวะแวดล้อมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เอื้ออำนวยที่สุด ซึ่งระหว่างอายุการใช้งานอาจไม่ได้บรรลุดวามเร็วดังกล่าวเลยก็ได้ เปรียบได้กับความเร็วของรถยนต์สูงสุดต่อชั่งโมงที่ปรากฏที่มาตรวัดความเร็วของรถ (เช่น 240 กม.ต่อ ชั่วโมง) ซึ่งมีรถน้อยคันที่จะวิ่งได้เร็วเท่านี้ ความเร็วของ CD-ROM Drive นั้นให้ประโยชน์เฉพาะแผ่น CD-ROM ประเภทที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ และ ประเภทสารานุกรมหรือบทเรียนเท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการเล่น Audio-CD และ Video-CD ซึ่งใช้ความเร็วแค่ 2x เท่านั้นเอง CD-Writer ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายบางรุ่นได้ติดตั้ง CD-Writer แทนที่จะติดตั้ง CD-ROM Drive CD-Writer นี้มีลักษณะกายภาพภายนอกและคุณสมบัติเหมือน CD-ROM Drive ทุกประการ แต่ผนวกความสามารถในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD รวมทั้งทำสำเนาแผ่น CD ด้วย แผ่นที่จะนำมาเพื่อบันทึกหรือทำสำเนาจะต้องเป็นแผ่นที่เรียกว่า CD-R (บันทึกได้ครั้งเดียว หากผิดพลาดแผ่นจะเสียหายเลย) หรือ แผ่น CD-RW (บันทึกและปันทึกซ้ำได้ โดยผู้ผลิตแผ่นประเภทนี้อ้างว่าจะบันทึกซ้ำได้ประมาณ 1,000 ครั้ง) คุณสมบัติที่ผู้ซื้อ CD-Writer ต้องพิจารณาคือความเร็ว ซึ่งใช้วิธีการระบุเช่นเดียวกับ CD-ROM Drive แต่ในที่นี้จะเพิ่มตัวเลขจาก 1 เป็น 3 ตัว เช่น 20/10/40 หมายความว่า CD-Writer ตัวนี้บันทึกแผ่น CD-R สูงสุดที่ 20x บันทึกแผ่น CD-RW สูงสุดที่ 10x และอ่านแผ่นทุกประเภทสูงสุดที่ 40x

5.Monitor Monitor นั้นเป็นจอภาพที่ขึ้นชื่อในด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นระบบการจ่ายไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญ และ แต่แตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์ เล็กน้อยตรงที่จอภาพแบบ LCD Monitor นั้นจะมีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ ด้านใน (Internal) และแบบด้านนอก (External) ซึ่งจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ที่มีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าแบบภายใน และภายนอกนั้นก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง โดยแบบภายในนั้นข้อดีก็คือ การติดตัง และเวลาเคลื่อนย้ายไฟใช้งานที่อื่นสามารถที่จะยกไปใช้งาน และติดตั้งได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องนำอุปกรณ์อื่นๆ ไปด้วย สำหรับข้อเสียคือเรื่องของความหนาในส่วนของด้านหลังของจอภาพ ซึ่งจะเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ในการติดตั้งในส่วนของตัวแปลงกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และข้อเสียอีกข้อหนึ่งคือเรื่องของความร้อนที่เกิดขึ้น เพราะตัวแปลงกระแสไฟฟ้า สำหรับจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ที่มีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าด้านนอกนั้นข้อดีก็คือ จอภาพจะมีความแบน และบางเป็นอย่างมาก และจะมีน้ำหนังที่เบา ความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างใช้งานจะมีไม่มาก เนื่องจากนำส่วนการแปลงกระแสไฟฟ้าออก ไปไว้ข้างนอก ข้อเสียนั้นคือ การติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายเป็นไปได้ลำบาก เนื่องจากจำเป็นต้องนำเอาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าที่แยกออกมาก นำไปติดตั้งด้วยทุกครั้ง และตัวแปลงกระแสไฟฟ้าของจอภาพแบบละรุ่นมักจะแตกต่างกันจึงไม่สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ เพราะถ้าค่าของกระแสไฟฟ้าผิดจากที่ใช้ปกติ อาจจะทำ ให้เกิดความเสียหายขึ้นกับจอได้นั้นก็เป็นข้อสังเกตในการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่สามารถที่จะทำการดูได้จากข้อมูลทางเทคนิค (Specification) ของจอในแต่ละรุ่นเพื่อที่จะทำการตัดสินใจเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มาใช้งาน เพื่อให้ได้จอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเหมาะกับตัว ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยในแต่ละข้อนั้นก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ในการเลือกซื้อจอภาพแบบอื่นๆ ได้อีก สำหรับข้อแตกระหว่างจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นก็สามารถที่จะทำการสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ รูปร่าง และน้ำหนัก: จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีความบาง และแบนกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป้นอย่างมากนั้นเป็นเพราะเทคโนโลยีในการแสดงภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นข้อดีที่ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นได้เปรียบจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากอีกทั้งด้วยความบาง และแบนของจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จึงทำให้น้ำหนักนั้นเบากว่าจอ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป็นอย่าง มาก การเคลื่อนย้ายจึงสามารถทำได้ง่ายกว่า พื้นที่ในการแสดงผล:ในบางครั้งหลายๆ ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นถึงแม้จะมีขนาดเท่ากับจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) มักจะมีพื้นที่ในการแสดงภาพมากกว่า อย่างเห็นได้ชัด นั้นก็เพราะว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นสามารถที่จะแสดงภาพได้เต็มพื้นที่ อีกทั้งความบาง และความคมชัดของจอภาพ จึงทำให้ดู เหมือนจอภาพของ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีพื้นที่แสดงภาพมากกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ที่มีขนาดเท่ากัน ขนาดความหนาของจอภาพที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ความคมชัดของภาพ:ถึงแม้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีระยะห่างของจุด (Dot Pitch) มากว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) บางรุ่น แต่ความคมชัด และสีสันนั้น จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีอยู่สูงกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากเนื่องจากว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ใช้หลักการเรืองแสง และแสดงภาพแบบดิจิตอลภาพที่ได้จะแสดง ได้ถูกต้องตามตำแหน่งของภาพได้มากกว่า และเนื่องจากเป็นผลึกเหลว การไล่สีของภาพจึงสามารถที่จะทำได้ดีกว่าการยิงแสงของจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ภาพที่ได้จึงคมชัดมากกว่า การกระจายของรังสี นี้ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงกันมากในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นั้นคือ การกระจายรังสีของจอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจริง และการ กระจายรังสี นี้มีอยู่ในทุกๆ จอภาพ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ รวมทั้งอุปกรณ์แสดงภาพต่าง แต่ทำไหมถึงจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) จึงเป็นที่พูดถึงกับบ่อย ซึ่งจริงๆ แล้วจอภาพที่อาศัยหลักการยิงแสงอิเล็กตรอนให้เกิดภาพทุกจอ มีการกระจายรังสีเท่ากันไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หรือจอ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) แต่การชม โทรทัศน์นั้นมักจะชมกันอยู่ในระยะที่ไกล จึงทำให้ได้รับรังสีน้อย และแทบจะไม่มีผลกระทบมากนัก แต่จอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์นั้น การใช้ งานส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่ใกล้ โอกาสที่จะได้รับรังสีจึงมีมากกว่าปกติ แต่สำหรับจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นการกระจายของรังสีนั้นมีน้อยกว่า จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากรังสีจึงน้อยตามมา ซึ่งก็ช่วยให้สายตา และสุขภาพของผู้ใช้งานได้รับอันตรายจากการใช้งาน คอมพิวเตอร์ได้น้อยลง ประหยัดพลังงานข้อนี้เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นใช้พลังงานที่น้อยกว่า จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ถึง 50%-60% ยิ่งถ้าในองค์ที่มีการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก การใช้งาน จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะเป็นการช่วยลดรายจ่ายในเรื่องของค่าไฟฟ้าในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก และก็ถือ เป็นการประหยัดการใช้งานพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก ราคา สำหรับในข้อนนี้นั้น จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) คงจะได้เปรียบอยู่มากเนื่องจากจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้นราคาถูกกว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) อยู่มาก เมื่อ เปรียบเทียบในขนาดของจอภาพเดียวกัน ดังนั้นผู้ซื้อส่วนใหญ่มักจะเลือกซื้อจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กันเป็นส่วนมาก ถึงแม้จอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมี ประสิทธิภาพในการใช้งานที่มากกว่า แต่ราคามักจะเป็นสิ่งที่กำหนด และมีผลในการตัดสินใจในการซื้ออยู่มาก จากที่กล่าวมานั้นก็น่าที่จะทำให้การเลือกซื้อจอภาพแบบแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มาใช้งานนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อจอภาพที่เหมาะสมกับตัวผู้ใช้งาน และสามารถที่จะใช้งานได้ถึงประสิทธิภาพสูงสุดของจอภาพ และถึงแม้จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ยังมีราคาที่แพงกว่าจอภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากนั้นแต่ประสิทธิภาพ และประโยชน์ที่จะได้รับจากจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นก็มีไม่น้อยถ้าจะตั้งงบในการเลือกซื้อจอภาพ มากขึ้นสักหน่อย ก็เป็นเรื่องที่ดีและสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่าลืมว่า การใช้งานที่ภาพที่ไม่เมาะสมกับงานที่ทำ หรือการตั้งค่าที่ผิดไป ผลเสียในจะมีต่อผู้ใช้ โดยตรง ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าเลยแม้แต่น้อย จึงอยากจะให้ผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อจอภาพมาใช้งานนั้นเลือกซื้อจอภาพที่ดีมีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้ใช้ใหม่ มากที่สุด ซึ่งผลงานที่ได้ออกมานั้นก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดตามมาเหมือนกัน

6.Sound Card Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ถือเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่นับวันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้นทุกวัน เพราะสามารถที่จะสรรค์สร้างพลังเสียงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุกวันนี้การผลิต Sound Card ซาวนด์การ์ด ออกมาให้เราได้ใช้นั้น ล้วนแต่เป็น Sound Card ที่มีคุณภาพที่ดีทั้งสิ้น แต่ก็มีความแตกต่างทางด้านใช้งานพอสมควร ดังนั้นในการเลือกซื้อ ซาวนด์การ์ด นั้น ควรจะต้องดูที่ความต้องการของคุณเป็นหลักครับ ถ้ามองย้อนหลังไปในอดีต ท่านคงจะทราบถึงการพัฒนาการของ Sound Card ซึ่งเมื่อก่อนในการผลิต Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ออกมาใช้งาน ซาวนด์การ์ด จะมีการผลิตที่ใช้กับสล็อตแบบ ISA ถ้าดูโดยรวมแล้วในการส่งข้อมูลของการ์ดแบบนี้มีการส่งข้อมูลค่อนข้างช้า และขนาดของการ์ดยังมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งออกจะใหญ่เทอะทะด้วยซ้ำไป อีกทั้งยังเป็น Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่ดึงความสามารถของคอมพิวเตอร์ของท่าน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านมีการทำงานที่ช้าลง รวมทั้งเสียงที่ได้จากการ์ดแบบนี้ยังมีคุณภาพของเสียงต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้คิดค้นการ์ดแบบ ISA นี้คงผลิตมาเพื่อใช้กับการใช้ร่วมกับคาราโอเกะ หรือการฟังเพลงเล็กๆน้อย แต่ก็นับเป็น Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนั้น แต่มาถึงในปัจจุบัน เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาขึ้นมาก รวมไปถึง ซาวนด์การ์ด ที่คนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนารูปลักษณ์ของเจ้า Sound Card นั้นออกมาในลักษณะของการ์ดแบบ PCI ถ้าดูเรื่องขนาดแล้วมีขนาดที่เล็กกว่าการ์ดแบบ ISA มาก อีกทั้งในการส่งข้อมูลยังมีความเร็วที่สูงกว่าด้วย ดึงทรัพยากรภายในเครื่องน้อยลง อีกทั้งยังมีคุณภาพเสียงที่โดดเด่น มีการการกระจายของเสียงที่ดี ซึ่งมีหลายๆอย่างที่ดีกว่าการ์ดแบบ ISA มาก จึงทำให้ในการผลิตการ์ดแบบ ISA นี้ล้มเลิกลง เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ทำให้การ์ดแบบนี้หยุดการผลิตลง เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ที่ทำการผลิตออกมา และตัดสล็อตแบบ ISA นี้


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดที่ 3 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ในด้านต่างๆ

นางสาว สุธีรัตน์  ยงยิ่ง
5711165136
สาธารณสุขชุมชน ห้อง 1

ให้นักศึกษาทำรายงานในหัวข้อ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ในด้านต่างๆ
ด้านการพัฒนาการเมืองการปกครอง
สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ตัวอย่างเว็บ
http://local.chiangmai.go.th/
                
http://www.ayutthayalocal.go.th/ 
ด้านธุรกิจ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรและงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์การต่าง ๆ เริ่มพยายามเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันสู่ยุของการค้ารูปแบบใหม่ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขายการตลาดและการบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าทั้งเก่าและใหม่เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า คำว่า “อีคอมเมิร์ซ”(E-commerce/Electronics Commerce ) จัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้องค์กร ได้เปรียบคู่แข่งขัน
ตัวอย่างเว็บ
http://www.techraiser.com
                   
http://www.ready.in.th
ด้านการคมนาคม
เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน
ตัวอย่างเว็บ  http://www.bts.co.th/
                    
http://www.kerrylogistics.com

ด้านการพัฒนาการสาธารณสุข
คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข   คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ   จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ  ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป  ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค  และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์    นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง  คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค  สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น   ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า  อีเอ็มไอสแกนเนอร์  (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก  พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ  ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค
ตัวอย่างเว็บ www.netterimages.com
                   
catalog.nucleusinc.com

ด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
 การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
 อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
 
ตัวอย่างเว็บ www-based Instruction
                    
e-learning

นำเสนอประวัติส่วนตัว

https://docs.google.com/presentation/d/1QmiLBj3esBPddYeXzwLJKmWQS5jMS83Fd42LP6xbWow/pub?start=false&loop=false&delayms=3000

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัดที่ 2 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ



 นางสาว สุธีรัตน์  ยงยิ่ง  5711165136
สาขา สาธารณสุขชุมชน ห้อง 1


1. จงยกตัวอย่าง ระบบสารสนเทสที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
 ตอบ
  1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
  2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
  3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
  4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
  5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ

2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดียคืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้างพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึง
สื่อประสมบางทีเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) มาจากคำว่า มัลติ (Multi) ซึ่งแปลว่า ความหลากหลาย และมีเดีย (Media) ซึ่งแปลว่า สื่อ
ดังนั้น สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น
ความหมายของสื่อประสมจะแตกต่างกันไปตามสมัย ซึ่งสมัยก่อน เมื่อกล่าวถึงสื่อประสมจะหมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง เป็นต้น เพื่อให้การเสนอผลงานหรือการเรียนการสอนสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ นอกเหนือจากการบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้ฟังหรือผู้เรียนมิได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสื่อนั้นโดยตรง
ปัจจุบันด้วยบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีเพิ่มมากขึ้นในการทำงานจึงทำให้ความหมายของสื่อประสมเพิ่มขึ้นจากเดิม ความหมายของสื่อประสมที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันจะหมายถึง "สื่อประสมเชิงโต้ตอบ" (Interactive Multimedia) โดยการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างสื่อและผู้ใช้ สื่อประสมสมัยนี้จึงหมายถึง การนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องเล่มซีดี - รอม เครื่องเสียงระบบดิจิทัล เครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ ฯลฯ มาใช่ร่วมกันเพื่อเสนอเนื้อหาข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียงในระบบสเตริโอ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต การนำเสนอเนื้อหา เป็นการให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนมิใช่เพียงแต่นั่งดู หรือฟังข้อมูลจากสื่อที่เสนอมาเท่านั้น แต่ผู้ใช้สามารถควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงานในการตอบสนองต่อคำสั่งและให้ข้อมูลป้อนกลับในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ผู้ใช้สื่อสามารถมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองซึ่งกันและกันได้ทันทีจากความหมายข้างต้นจึงแบ่งการพัฒนาสื่อประสม
ตัวอย่างเช่น
           ข้อความหรือตัวอักษร (Text)
            ภาพกราฟิก (Graphic)
          ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
          เสียง (Sound)
          ภาพวิดีโอ (Video)

3. เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร  สามารถประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างไรบ้างจงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ
 การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือ
   ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม
    และการสื่อสาร
      ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
    ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโน
    โลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

4. เครือข่ายที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงคือเครือข่ายใด ประโยชน์ที่ได้รับได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ
พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรง
พระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟ พ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย...
พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้รู้ข่าวสารต่างๆของพสกนิกรเพื่อที่จะแก้ปัญหาได้ทันในยามที่มีปัญหาได้ทันที เพื่อให้พสกนิกรอยู่อย่างมีความสุขสงบ
ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ต้องการคำแนะนำแก้ไข แต่ยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน พระองค์จึงให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
    ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่อง น้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
    ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
    ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
ความสำคัญใน การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนิน ธุรกิจทุกประเภทการสื่อสารเป็นหัวใจของ ความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่
สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

อ้างอิง http://test.strisuksa.ac.th/p4.html
           http://chanon80180.blogspot.com/2012/11/1.html